บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ ของ คณะภราดาเซนต์คาเบรียล

ในปีแรกๆ คุณพ่อกอลมเบต์สอนภาษาไทยควบคู่ไปกับภาษาฝรั่งเศสและต่อมาได้เพิ่มภาษาอังกฤษขึ้นอีกภาษาหนึ่ง นักเรียนของท่านมีน้อย ท่านต้องออกเดินไปตามบ้านเพื่อขอร้องให้บรรดาผู้ปกครองส่งเด็กมาเรียนกับท่าน ท่านทำการสอนเด็กนักเรียนจำนวนน้อยเหล่านั้นด้วยศรัทธาอันมั่นคง และด้วยความอุตสาหะอย่างยิ่งของท่าน ในที่สุดท่านก็ได้ เปิดเป็นโรงเรียนขึ้นเพื่อรับนักเรียนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นชาติหรือศาสนาใด โดยท่านได้ใช้เนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 3 งาน ตรงบริเวณบ้านคุณพ่อกังตอง (Père Ganton "แปค์ กงตง) ซึ่งเป็นเรือนไม้เล็กๆเก่าๆ ที่สร้างขึ้นโดยมุขนายกฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว (Bishop pallegoix) เมื่อ พ.ศ. 2392 ใช้เป็นบริเวณที่พักของคุณพ่อกังตอง ซึ่งเป็นหัวแรงใหญ่ในการดูแลงานโรงเรียน มีเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ซึ่งกั้นเป็นห้องเรียนได้อีก 1 ห้อง เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน และมีลานเล่นหลังคาจากเล็กๆ พอให้เด็กๆ ได้มีที่คุ้มแดดคุ้มฝน ยามวิ่งเล่นอีกหลังหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ คุณพ่อกอลมเบต์ยังได้จ้างมิสเตอร์คอนอแว็น ชาวอังกฤษให้มาเป็นครูใหญ่ของโรงเรียนอีกด้วย โรงเรียนของท่านได้เริ่มเปิดเรียนวันแรก เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ" (Le Collège de L' Assomption) ซึ่งมีนักเรียนอยู่เพียง 33 คน ด้วยจำนวนนักเรียนเพียง 33 คน ทำให้ครูใหญ่รู้สึกท้อถอย และคิดจะลาออกกลับไปยังประเทศของตน แต่คุณพ่อกอลมเบต์ก็ได้ปลุกปลอบและให้กำลังใจเรื่อยมา จนในที่สุดมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 80 คนเมื่อสิ้นปีการศึกษา และเปดการศึกษาใหม่เป็น ปีที่ 2

ในวันที่ 26 มกราคม 2429 มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 130 คน เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สถานที่เรียนจึงคับแคบลง คุณพ่อปรารถนาที่จะสร้างอาคารใหม่เพื่อต้อนรับลูกศิษย์ของท่านได้เต็มที่ แต่สมณเพศผู้สละแล้วซึ่งทรัพย์สมบัติทั้งปวง ไม่มีทุนทรัพย์ที่จะมาทำการก่อสร้างตามที่คิดไว้ได้ ท่านจึงได้ออกเรี่ยไรเงินไปตามบ้านผู้มีจิตศรัทธาต่าง ๆและได้ทูลเกล้าถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถซึ่งทั้งสองพระองค์ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับคุณพ่อเพื่อใช้ในการดำเนินงานการก่อสร้างอาคารเรียน ครั้งนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน 50 ชั่ง (4,000 บาท) และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระราชทาน 25 ชั่ง (2,000 บาท) พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และเจ้าขุนมูลนายต่าง ๆก็ได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนี้ด้วย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าฯ อย่างหาที่สุดมิได้ แก่บรรดาชาวอัสสัมชัญทั้งหลายมาจนบัดนี้ทีเดียว

23 เมษายน พ.ศ. 2430 คุณพ่อกอลมเบต์ได้ตกลงเซ็นสัญญาก่อสร้างตึกเรียนหลังแรกกับมิสเตอร์ กราชี (Mr.Grassi) สถาปนิกชาวอิตาเลียนด้วยจำนวนเงิน 50,000 บาทและได้เริ่มวางรากฐานการก่อลร้างตึกหลังแรกของโรงเรียนซื่งมีชื่อว่า "Collège de L'Assumption" ต่อมาได้รับการขนานนามว่า "ตึกเก่า" ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 และใน วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2430 อันเป็นวันสมโภชอัสสัมชัญ คือวันฉลองแม่พระได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ซึ่งนับว่าเป็นฤกษ์ดี คุณพ่อจึงเลือกการวางศิลารากโรงเรียนในวันนั้น โดยเชิญคุณพ่อดองต์ (d' Hondt) ประมุขมิสซังกรุงเทพฯ มาทำการเสกศิลา และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งกลไฟซึ่งอาเลกซันดรา กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ พระยาภาสกรวงษ์ ผู้แทนเสนาบดีว่าการต่างประทศ ได้นำคุณพ่อดองต์และ คุณพ่อกอลมเบต์ได้รับเสด็จที่ท่า ผ่านกระบวนนักเรียน ตามทางประดับด้วยผ้าแดง ธงต่าง ๆ ต้นกล้วย ใบไม้ เสื่อลวด ดังปรากฏหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 4 แผ่น ที่ 18 หมายเลข 138 วา "ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ เวลาบ่าย 4 โมงเศษ ...ทรงจับฆ้อนเคาะแผ่นศิลานั้น แล้ว ดำรัสว่า "ให้ที่นี้ถาวรมั่นคงสืบไป" ด้วยอุดมการณ์อันมั่นคงของคุณพ่อกอลมเบต์ที่จะให้วิชาความรู้แก่เด็กชายชาวสยามเพื่อเป็นวิทยาทาน และด้วยเมตตาธรรม

ในปี พ.ศ. 2431 คุณพ่อจึงได้รับเดกกำพร้าเข้ามาไว้ในอุปการะหลายคนเพื่อให้เดกเหล่านั้นได้มีโอกาสเล่าเรียนวิชาไว้เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว และชาติบ้านเมืองสืบต่อไป ปี พ.ศ. 2439 จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นถึง 300 คน และเพิ่มเป็น 400 คนในปีต่อมา ทำให้ภาระของคุณพ่อกอลมเบต์หนักขึ้น และหากท่านมุงห่วงใยในการศึกษาของศิษย์ทั้งใหญ่น้อยทั้งชาวไทย ชาวจีน แขก ฝรั่ง ทั้งที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์) ศาสนาอิสลาม ลัทธิขงจื๊อ ฯลฯ เช่นนี้ จะทำให้ท่านมีเวลาเพื่อศาสนกิจ อันเป็นงานหลักของท่านน้อยเกินไป ดังนั้นเมื่อตึกเรียน ได้เริ่มใช้งานมา 10 ปีแล้ว คือเริ่มใช้งานในปี 2433 การดำเนินงานของโรงเรียนก็เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้นเมื่อทานป่วยและ ต้องเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศส เพื่อรักษาตัวในปี พ.ศ. 2443 ท่านจึงได้มอบหมายภาระทางด้านโรงเรียนนี้ให้กับคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เพื่อมาดำเนินงานต่อจากท่านไป โดยที่เมื่อท่านได้กลับมาประเทศไทยหลังจากที่ได้รักษาตัวอยู่ที่ฝรั่งเศสเกือบ 3 ปี ท่านก็ได้คอยมาดูแล พวกภราดา และโรงเรียนด้วยความห่วงใยอยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ที่ท่านจะต้องร่วมขบวนทัศนาจรไปด้วยทุกครั้ง

อธิการ

ชื่อค.ศ.
ฮิวเบิร์ต1948-1954
ยอห์น แม่รี่1955-1965
อำนวย ปิ่นรัตน์1965-1974
ประทีป โกมลมาศ1974-1976
วิริยะ ฉันทวโรดม1977-1986
สุรสิทธิ์ สุขชัย1986-1995
ศิริชัย ฟอนซีกา1995-2000
ศักดา กิจเจริญ2001-2007
ศิริชัย ฟอนซีกา2008-2013
สุรสิทธิ์ สุขชัย2013-2018
เดชาชัย ศรีพิจารณ์2018-ปัจจุบัน


ใกล้เคียง

คณะภราดาเซนต์คาเบรียล คณะภราดาน้อยกาปูชิน คณะภราดาลาซาล คณะภราดาน้อย คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คณะราษฎร คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ